ชื่อพื้นเมือง : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ผักจี้ลี้ (แม่ฮ่องสอน) ยะหา (ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Cassod tree, Thai copper pod
ประโยชน์ : ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกตูม นิยมนำมาทำเป็นอาหาร ใบแก่นำมาต้มน้ำสำหรับย้อมสีผ้า ช่วยในการติดสีเขียวขี้ม้า สารคาราบอลที่สกัดได้จากใบ และดอก ใช้เป็นส่วนผสมของยาสลบ ยาลดความเครียด และยานอนหลับ น้ำต้มจากใบ และยอดอ่อนขี้เหล็กใช้ฉีดพ่นไล่แมลงปีกแข็ง เช่น ด้วงถั่วเขียว รวมถึงแมลงศัตรูพืชต่างๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต
ลำต้น
ใบ