จามจุรี

ชื่อพื้นเมือง      :         ก้ามกราม(กลาง) ก้ามกุ้ง(กทม.,อุตรดิตถ์) ก้ามปู(กทม.,พิษณุโลก) จามจุรี(กทม.) ฉำฉา(กลาง,เหนือ)  ตุ๊ดตู่(ตราด) ลัง, สารสา, สำสา(เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :         Albizia saman (Jacq.) Merr.

ชื่อวงศ์           :         FABACEAE

ชื่อสามัญ        :         East Indian walnut/ Rain tree/ Monkey Pod

ประโยชน์        :         ราก นำมาต้มดื่ม รักษาอาการท้องร่วง นำมาฝนทาแผล รักษาแผลอักเสบเป็นหนอง

เปลือกต้น มีรสฝาด นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้ฝนหรือบดทารักษาแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ใช้รักษาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน นำมาเคี้ยวช่วยลดอาการเหงือกบวม แก้ปวดฟัน ใบ นำใบสดมาต้มน้ำดื่ม หรือตากแห้งใช้ชงเป็นชาดื่ม ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ฝักหรือผลสุก นำมารับประทาน ช่วยบำรุงร่างกาย เมล็ด มีรสฝาด นำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคท้องเสีย ท้องร่วง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์           ลำต้นมีลักษณะทรงพุ่มกว้างใหญ่ ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่สมมาตร แตกกิ่งในระดับต่ำประมาณ 3-5 เมตร กิ่งประกอบด้วยกิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา เมื่อต้นแก่จะมีสีดำเป็นแผ่นสะเก็ด กิ่งอ่อนมีสีขาวเทา กิ่งแก่มีสีน้ำตาล  ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบมนเล็ก  ปลายใบมนกว้าง ท้องใบหรือใต้ใบสีเขียวนวล มีขน ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง และสีน้ำตาลตามลำดับ  ดอกจามจุรีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน ดอกออกเป็นช่อ แทงออกบริเวณปลายกิ่งเหนือซอกใบ มีก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสั้นเล็กสีเหลือง เมื่อดอกบานจะแตกก้านเกสรออกมาให้เห็น เป็นสีสวยงาม ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ที่เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เมื่อดอกบานเกสรจะมีสีขาว และเมื่อแก่ปลายเกสรจะมีสีชมพู ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปทรงแบนยาว คล้ายฝักถั่ว ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลจนถึงดำเมื่อฝักสุก ฝักแก่กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ขอบฝักเป็นแนวตรงเสมอกัน และมีเส้นสีเหลืองตามขอบ ร่องฝักนูนบริเวณที่มีเมล็ด และถูกหุ้มด้วยเนื้อผลสีน้ำตาล และช่วงระหว่างเมล็ดเป็นร่องที่ประกอบด้วยเนื้อสีน้ำตาลเช่นกัน

ลำต้น

ลำต้น

ใบ

ดอก

ดอก

ผล

เมล็ด