ชื่อพื้นเมือง : ดู่บ้าน ประดู่กิ่งอ่อน ประดู่ลาย สะโน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus Indicus Willd.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Angsana
ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้แก่นเนื้อไม้นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ แก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด แก้เลือดกำเดาไหล เป็นต้นไป ใช้ใบอ่อน นำมาตำให้ละเอียด ใช้กากพอกแผลที่เป็นฝี ทำให้ฝีสุก หรือแห้งเร็ว พอกแผลแก้ผดผื่นคัน ยางไม้มีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า Gum Kino นำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดคล้ายดอกถั่ว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก
ผล
เมล็ด