พื้นเมือง : ประดู่เสน จิต๊อก ฉะนอง ดู ดู่ป่า ตะเลอ เตอะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : Burma Padauk, Narva
ประโยชน์ : ใบมีรสฝาด นำมาชงกับน้ำใช้สระผมได้ ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่มีคุณภาพดี มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้ละเอียดปานกลาง ปลวกไม่ทำลาย มีเนื้อไม้ที่มีสีสวยและลวดลายสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตกแต่งชักเงาได้ดี สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา คาน ฝาบ้าน พื้นบ้าน ไม้ปาร์เกต์ ไม้ประสาน ไม้อัด แผ่นไม้ชุบซีเมนต์ ฯลฯ ใช้ทำเกวียน ทำเรือคานและเรือทั่ว ๆ ไป รวมไปถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของเรือ เพราะประดู่เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติทนน้ำเค็มได้ดี นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ด้ามมีด จานรองแก้ว ทัพพี หรือนำมาทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ระนาด เป็นต้น ส่วนต้นประดู่บางต้นจะเกิดปุ่มตามลำต้น หรือที่เรียกว่า “ปุ่มประดู่” ทำให้ได้ไม้ที่มีเนื้อไม้งดงาม มีราคาแพงมากและหาได้ยาก โดยมากนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นสูง 15-30 เมตร ใบประกอบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี3-13 คู่เรียงสลับ แบนใบรูปไข่ หรือขอบขนาน โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปถั่ว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบนคล้ายโล่ มีปีกเป็นแผ่นกลม เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรี
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล