ชื่อพื้นบ้าน : มะนาว มิสิว (เชียงใหม่) สีมานีบีห์ (ใต้-มลายู) ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าต์เล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากฟ้า ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) โกรยชะม้า (เขมร-สุรินทร์) ส้มมะนาว หมากฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสามัญ : Lime, Common lime
ประโยชน์ : น้ำมะนาวและผลดองแห้ง รับประทานเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากในน้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีรสเปรี้ยวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลาย ทำให้ชุ่มคอ จึงช่วยลดอาการไอได้และรสเปรี้ยวยังช่วยกัดเสมหะให้หลุดออกมาด้วย น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะอื่น ๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยใบเดียว รูปไข่หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 ซม. ยาว4-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนมีปีกแคบๆ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ตามผิวใบ ดอก ออกเป็นช่อสั้น 5-7 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 4-5 กลีบ หลุดร่วงง่าย ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม พอแก่เป็นสีเหลือง ข้างในแบ่งเป็นห้องแบบรัศมี มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี 10-15 เมล็ด
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ผล
เมล็ด