ชื่อพื้นเมือง : บะลำไย (เหนือ), เจ๊ะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan Lour.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ : Longan
ประโยชน์ : ใช้รับประทานสดเป็นผลไม้ในยามว่าง อร่อยมาก ๆ น้ำลำไยช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกายใช้ทำเป็นอาหารก็ได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย เป็นต้นลําไยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงมาก เนื่องจากมีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก ลําไยมีวิตามินซีที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวและเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพราะไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งจะทำให้ลดขนาดการใช้ยาหรือเคมีบำบัดลงได้มาก ลำไยแห้งมีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวได้ดีกว่าการใช้สารเคมีลําไยสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น การบรรจุกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย เป็นต้น เนื้อไม้สีแดงของต้นลำไยมักนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น มีขนาดลำต้นสูงปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจะมีลำต้นตรงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 12.15 เมตร และถ้าหากเป็นต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งจะแตกกิ่งก้านสาขาใกล้ๆกับพื้น และถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งในขณะที่ต้นยังเล็กมักแตกลำต้นเทียมหลายต้น ลำต้นที่เกิดขึ้นไม่ค่อยเหยียดตรงมักเอนหรือโค้งงอเปลือกลำต้น ขรุขระมีสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาลแดงเป็นสะเก็ด ใบเป็นใบรวมที่ประกอบด้วยใบย่อยอยู่บนก้านใบร่วมกัน(pinnately compound leaves) มีปลายใบเป็นคู่มีใบย่อย 3.-5 คู่ ความยาวใบ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงตัวสลับหรือเกือบตรงข้าม ความกว้างของใบย่อย 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร รูปร่างใบเป็นรูปรีหรือรูปหอก ส่วนปลายใบและฐานใบค่อนข้างป้าน ใบด้านใบมีสีเขียวเข้มกว่า ด้านล่างสากเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย และเห็นเส้นแขนง(vein) แตกออกมาจากเส้นกลางใบชัดเจนและมีจำนวนมาก ช่อดอก ส่วนมากเกิดจากตาที่ปลายยอด(terminal bud) บางครั้งอาจเกิดจากตาข้างของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ช่อดอกขนาดกลางจะมีดอกย่อยประมาณ 3,000 ดอก ดอก มีสีขาวหรือขาวอมเหลืองมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีกลิ่นหอม ช่อดอกหนึ่ง ๆอาจมีดอก 3ชนิด (polygamo-monoecious) ดอกตัวผู้ (staminate) ดอกตัวเมีย (pistillate flower) และดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของดอกทั้ง 3 ชนิด คือกลีบดอกบาง 5 กลีบ สีขาว กลีบเลี้ยงหนาแข็ง 5 กลีบมีสีเขียวปนน้ำตาล ผล มีผลทรงกลมเบี้ยว เปลือกสีน้ำตาลปนเหลืองหรือปนเขียว ผลสุกมีเปลือกสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอมแดงผิวเปลือกเรียบหรือเกือบเรียบมีตุ่มแบนๆปกคลุมที่ผิวเปลือกด้านนอกเนื้อลำไยเป็นเนื้อเยื่อพาเรนไคมาที่เจริญล้อมรอบเมล็ด(outer integument) และอยู่ระหว่างเปลือกกับเมล็ด ซึ่งมีสีขาวคล้ายวุ้น มีสีขาวขุ่น ใสหรือสีชมพูเรื่อๆ มีกลิ่นหอม รสหวาน แตกต่างกันไปตามพันธุ์ เมล็ด มีลักษณะกลมจนถึงแบน เมื่อยังไม่แก่มีสีขาวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำมันส่วนของเมล็ดทีdragon’ eye) นี้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างกันไปตามพันธุ์ เมื่อผลแก่จัดถ้ายังไม่เก็บเกี่ยว placenta จะใหญ่ขึ้นเนื่องจาก placenta ดูดอาหารขึ้นไปเลี้ยงเมล็ด ทำให้เนื้อเยื่อมีรสชาติจืดลง
ลำต้น
ใบ