ชื่อพื้นเมือง : สะเดา สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
ประโยชน์ : เนื้อไม้ เหมาะสำหรับนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา เข็ม และ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดีเป็นอาหารและพืชสมุนไพร เช่น ในดอก และยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร และยาเจริญอาหาร เปลือก มีสารแทนนิน ใช้ในอุตสาหะกรรมฟอกหนัง กากสะเดาใช้เป็นปุ๋ย ผสมเป็นอาหารสัตว์ ดอก แก้พิษเลือดกำเดา บำรุงธาตุ ผล แก้โรคหัวใจ ยาง ดับพิษร้อน เปลือกแก้ไข้มาลาเรีย และเป็นยาสมานแผล ผลอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ เมล็ดใช้รักษาโรคเบาหวานเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลง สะเดามีสารชนิดหนึ่งชื่อ กะซ้าหอยแรคติหน สามารถนำมาสกัด เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงได้ พบมากที่สุดในส่วนของเมล็ดปลูกเพื่อเป็นแนวกันลมและให้ร่ม เนื่องจากมีใบหนาทึบ รากลึก ทนแล้ง ทนดินเค็ม และผลัดใบในเวลาสั้น อื่นๆ เช่น น้ำมันจากเมล็ดสะเดาใช้ทำเชื้อเพลิงจุดตะเกียง เป็นต้น
ลักษณะพฤกษาศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร เส้นรอบวงของต้น 80-200 ซม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือคล้ายเจดีย์ต่ำแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ หรือเป็นสะเก็ดเป็นร่องยาวตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยฐานใบไม่เท่ากัน รูปใบหอกปลายสอบ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. สะเดาจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอกดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ ผล รูปกลมรีอวบน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ผลสีเหลือง ผลมีเมล็ดเดียว แข็ง
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
เมล็ด