ชื่อไทยพื้นเมือง : พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง), ยางขาว(ลำปาง), หัสบรรณ(กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ : Blackboard tree, Devil tree
ประโยชน์ : นอกจากจะให้ร่มเงา ส่งกลิ่นหอมและมีความหมายที่เป็นสิริมงคลแล้ว ต้นไม้ชนิดนี้ยังถูกนำไปแปรรูปเป็นของใช้ในและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านได้ แต่ด้วยลักษณะเนื้อไม้ที่ไม่แน่นเลยทำให้ไม่มีความแข็งแรงทนทานพอ จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้าง ช่วยรักษาและบำรุงร่างกายมากมายเลยทีเดียว อย่างเช่น โรคบิด มาลาเรีย โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ติดเชื้อที่ลำไส้ ขับพยาธิ อาการทางผิวหนัง ช่วยให้เจริญอาหาร และลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นตีนเป็ดจัดอยู่ในวงศ์โมก เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงสูงใหญ่ ลำต้นสามารถเจริญเติบโตสูงได้ถึง 30-40 เมตร เป็นไม้เนื้อไม่แน่นและค่อนข้างเปราะ มีเปลือกหนาเป็นเกล็ดสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีขาวอมเหลือง ลักษณะต้นมีรูปทรงพุ่มสูงคล้ายฉัตร ใบเป็นแบบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะรูปวงรี เนื้อหนาและเหนียว มีติ่งที่ปลายใบ ผลเป็นฝัก ออกดอกเป็นช่อมีสีขาวอมเหลืองและเขียวนิด ๆ กลีบดอกเป็นรูปวงรีมีขนภายในดอก และที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมแรงไปจนกระทั่งฉุน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน กลิ่นของดอกต้นตีนเป็ดจะฉุนรุนแรงมากเป็นพิเศษ จนทำให้บางคนถึงขั้นเกิดอาการแพ้ได้
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ผล