หม่อน

ชื่อพื้นเมือง      :         หม่อน (ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  :         Morus alba L.

ชื่อวงศ์           :         MORACEAE

ชื่อสามัญ         :         Mulberry tree, White mulberry.

ประโยชน์        :         ราก ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หม่อนเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับ ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ใบสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกช่อ ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว การขยายพันธุ์ ตัดท่อนพันธุ์หม่อนที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนซึ่งสังเกตได้จากกิ่งหม่อนเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นสีน้ำตาลแล้วนำมาตัดเป็นท่อนยาวท่อนละ 15-20 เซนติเมตร นำส่วนที่อยู่ด้านโคนของท่อนพันธุ์ไปจุ่มในน้ำยาป้องกันเชื้อราทิ้งไว้ 10 นาที ส่วนด้านปลายของท่อนพันธุ์นำไปจุ่มในสีน้ำมัน เพื่อป้องกันการระเหยน้ำทำให้ท่อนพันธุ์แห้งตายก่อนที่แตกยอดและออกราก

ลำต้น

ลำต้น

ใบ

ใบ

ดอก

ผล

ผล